รีวิวหนัง Avengers Endgame

 

 

หลังจากมหาวายร้ายมันม่วงอย่าง ธานอส ได้่ดีดนิ้วเพื่อสลายสิ่งมีชีวิตไปครึ่งจักรวาล เหตุการณ์ครั้งนั้นก็สร้างบาดแผลให้กับทีมอเวนเจอร์สอย่างยากเกินที่จะเยียวยา แต่ด้วยเลือดนักสู้พวกเขาเลือกที่จะเปลี่ยนแปรงความเจ็บปวดมาเป็นการร่วมมือผู้รอดชีวิตต่อสู้กับเจ้าแห่งจักรวาล แม้จะด้อยทั้งกำลังคนและพละกำลัง แต่เพื่อแก้แค้นให้ครอบครัวอเวนเจอร์ส พวกเขาจะยืนหยัดต่อกรกับธานอส avengers: endgame 

 

รีวิวหนัง Avengers Endgame

รีวิวหนัง Avengers Endgame

นับจาก Ironman ภาคแรกในปี 2008 จนถึง Avengers Infinity War ในปี 2018 ที่ผ่านมาสิริรวมหนังเฉพาะในจักรวาลหนังมาร์เวลอย่างเป็นทางการ 21 เรื่องที่ผ่านมา หนังได้แนะนำให้เราได้รู้จักทั้งเศรษฐีค้าอาวุธกลับใจ คนตัวเล็กๆ ที่ต้องการโอกาสในการรับใช้ชาติ เทพเจ้าที่ค้นพบคุณค่าความเป็นมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ผู้มีปีศาจแห่งความโกรธแฝงในตัว กลุ่มคนนอกคอกแห่งกาแล็คซี่ เด็กน้อยที่พยายามบาลานซ์เรื่องครอบครัวและการปกป้องโลก

กระทั่งหัวขโมยกลับใจมาเป็นฮีโร่ร่างจิ๋ว ไม่เว้นแม้แต่ฝั่งสาวๆ ที่ทำให้หนุ่มๆ เห็นถึงพลังของผู้หญิงที่มาพร้อมกับความสวยงาม ซึ่งจากที่กล่าวมาหากเราถอดพลังวิเศษ ถอดชุดเกราะหรือเรื่องราวไซไฟล้ำยุคออก มันแทบจะเป็นบทบันทึกด้านมนุษยวิทยาร่วมสมัยย่อมๆ ได้เลย จนระยะเวลาร่วม 12 ปี มาร์เวลไม่เพียงทำให้เหล่าซูเปอร์ฮีโร่เป็นเพียงผู้พิทักษ์ หรือเป็นไอดอลสำหรับคนดูเท่านั้น avengers: endgame movie

แต่เรื่องเล่าและตัวละครที่แข็งแรงของมันกลับทำให้พวกเขากลายเป็นเพื่อน เป็นพี่ชาย และท้ายที่สุดบางคนก็กลายเป็นพ่อ ที่เราผูกพันสัมผัสได้ถึงจิตใจแห่งความเป็นมนุษย์นั่นต่างหากคือความแข็งแรงของจักรวาลภาพยนตร์มาเวลที่ยากเกินใครเลียนแบบ

ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่หนังมาร์เวลแต่ละเรื่องมีความโดดเด่น แตกต่างและได้ความบันเทิงแบบไม่ทิ้งคุณภาพของภาพยนตร์คือการคัดเลือกผู้กำกับที่ตาถึงมากๆ ของ เควิน ไฟกี โปรดิวเซอร์ผู้เป็นเสมือน นิค ฟิวรี่ ผู้ประสานจักรวาลภาพยนตร์ที่ผ่านมาตลอด 3 เฟส และการตัดสินใจที่เรียกได้ว่าแจ๊คพ็อตครั้งหนึ่งของไฟกี คือการเลือก แอนโธนี และ โจ รุสโซ่ เลื่อนขั้นจากผู้ช่วยผู้กำกับมาเป็นผู้กำกับเต็มตัวตั้งแต่

Captain America Winter Soldier ที่แอบใส่เรื่องการเมืองร่วมสมัยลงไป และมาทดลองทำหนังก่อนอเวนเจอร์ส อย่าง Captain America Civil War ที่เรียกได้ว่าเป็นหนังอเวนเจอร์สย่อมๆ ได้เลย และแน่นอนเมื่อได้มาสานต่อหนังที่ใกล้ปิดท้ายเฟส 3 อย่าง

Avengers : Endgame พี่น้องรุสโซ่ก็ไม่ทำให้เราผิดหวัง เพราะนอกจากบทภาพยนตร์ที่กลั่นกรองมาเป็นอย่างดีทั้งเหตุปัจจัยต่างๆที่บีบให้ตัวละครต้องสู้ เดิมพันที่ตัวละครจะต้องจ่ายเพื่อให้ชนะศึกครั้งนี้ที่ถูกถักทออย่างเป็นเหตุเป็นผลมากๆ จนหนังกล้าที่จะให้เรื่องราวกว่า 40% ของมันเป็นดราม่าทั้งที่คนดูต่างตั้งความหวังมาดูฉากแอ็คชั่นหรือความแฟนตาซี  ดูหนังใหม่

 

รีวิวหนัง Avengers Endgame

 

เนื้อเรื่องของการต่อสู้ครั้งใหญ่

แต่ดราม่าของมันกลับนำพาอารมณ์ผู้ชมไปสำรวจจิตใจและสร้างอารมณ์ร่วมกับตัวละครอย่างได้ผล โดยเฉพาะการกำกับซีนดราม่าที่เอาคอเมดีแทรกของพวกเขายังทำให้เห็นทักษะในการเล่นกับอารมณ์ผู้ชมเป็นอย่างดี ที่สำคัญมันยังสามารถเชื่อมร้อยเหตุการณ์ในหนังก่อนหน้าได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าประทับใจมาก avengers: endgame จบ

ในส่วนดราม่าครอบครัวขอบอกว่าประเด็นที่โดนใจผมมากที่สุดหนีไม่พ้นการตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทความเป็นพ่อที่หนังทำออกมาได้ลึกซึ้งมาก โดยไม่ได้เป็นเพียงการเล่นง่ายๆ แต่หลายปมของหลายตัวละครมันกลับทำให้เราได้กลับมาตั้งคำถามกับตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อว่าหากเรามีครอบครัวที่สมบูรณ์จะเอาไปเสี่ยงเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมมั้ย หรือกระทั่งการให้ความหมายของครอบครัวที่ไปไกลกว่าแค่บ้านที่มี

พ่อแม่ลูกแต่เป็นมิตรสหายที่เข้าอกเข้าใจเป็นคนแบบเดียวกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่มันสามารถเชื่อมโยงและสัมผัสใจคนดูได้เป็นอย่างดีในหนังมาร์เวลตลอด 12 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถ้าสังเกตดีๆในหนังของมาร์เวลจะแอบแทรกดราม่าครอบครัวไว้ตลอด ไม่เว้นแม้แต่หนังซูเปอร์ฮีโร่ที่ดูหน้าหนังมุ่งขายความบันเทิงอย่าง Endgame ก็ยังใช้ดราม่าครอบครัวมาเชื่อมร้อยปมต่างๆในหนังได้เป็นอย่างดี และมันยังเป็นเหตุผลรองรับและเดิมพันครั้งใหญ่ในการต่อสู้ของตัวละครทุกตัวได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ครอบครัวแบบพ่อ แม่ ลูก หรือครอบครัวอเวนเจอร์สที่ผูกพันกันมากกว่าแค่มิตรสหายร่วมรบธรรมดา

อีกส่วนหนึ่งของหนังที่อยากชื่นชมคือการพยายามเปลี่ยนทัศนคติและสร้างมุมมองด้านบวกต่อเพื่อนมนุษย์ ทั้งการให้ความโดดเด่นกับตัวละครผู้หญิง ด้วยภาพลักษณ์ของนักรบที่พร้อมทั้งความงามและความกล้าหาญ รวมไปถึงบทบาทสำคัญในการประคับประคองครอบครัว หรือการให้พื้นที่คนผิวสีในหนังฮีโร่ ซึ่งแม้จะมีช่วงเวลาโชว์พลังหรือความโดดเด่นน้อยไปหน่อย แต่เรียกได้ว่าแมสเสจที่ผู้สร้างพยายามจะส่งผ่านไปยังผู้ชมก็สามารถรับรู้ได้เป็นอย่างดี หนังใหม่

ถือเป็นการสานต่ออารมณ์ร่วมของยุคสมัยทั้งการเมืองเรื่องเพศ การเมืองเรื่องสีผิว และทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างดิสนีย์ ดูเป็นองค์กรที่มีความหลากหลายในเชิงพหุวัฒนธรรมจากคอนเทนต์ที่ผลิตมาตลอด 12 ปีนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งที่ผมชอบที่สุดคือแม้ชื่อภาคและการตลาดจะทำให้เราจดจ่อแค่ว่าเหล่าฮีโร่จะจัดการกับธานอสยังไง แต่ที่จริงมันกลับมีเรื่องเล่าที่สัมผัสใจ และความสนุกที่เกินพิกัดเท่าที่หนังเรื่องหนึ่งจะให้ได้จริงๆ

 

 

เหล่าซูเปอร์ฮีโร่ทั้งทีมอเวนเจอร์สและทีมกัปตันอเมริกา (ซึ่งบาดหมางในเชิงอุดมการณ์ในตอน Captain America: Civil War) ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป หัวหน้าทีมอย่าง โทนี สตาร์ก กำลังเผชิญวาระสุดท้ายของตัวเองนอกโลก แม่ทัพนายกองหลายคนต้องกลายสภาพเป็นเถ้าธุลี เนื่องจากพลังจากการ ‘ดีดนิ้ว’ ของ ธานอส จอมวายร้ายเจ้าของถุงมือมหาประลัย รีวิวหนังสงครามน่าดู

ซึ่งประดับประดาไว้ด้วยอัญมณีครองพิภพทั้ง 6 ก้อน หรือหากจะพูดให้ครบถ้วน ไม่ใช่เพียงแค่เหล่าซูเปอร์ฮีโร่ราวๆ ครึ่งค่อนที่มอดม้วยมรณา แต่ครึ่งหนึ่งของสรรพชีวิตในระบบกาแล็กซีก็ต้องพลอยล้มหายตายจากไปด้วย จากแนวนโยบายอันเลือดเย็นและโหดเหี้ยมของจอมเผด็จการธานอส ผู้ซึ่งมองว่านั่นเป็นหนทางเดียวที่จะพิทักษ์รักษาให้จักรวาลกลับคืนสู่ความสมดุลและอยู่รอด

พูดง่ายๆ ในแง่ของการเล่าเรื่อง Avengers: Endgame ไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากเก็บชิ้นส่วนที่หักพังและแตกร้าวจากภาคก่อนหน้า และค่อยๆ นำมาประสานให้เข้ารูปเข้ารอย และในขณะที่การเริ่มต้นเอ่ยถึงเนื้อหาของหนังเรื่อง Avengers: Endgame สุ่มเสี่ยงต่อข้อกล่าวหาว่าเฉลยปมหรือจุดหักเหสำคัญของเรื่อง ว่ากันตามจริง แท็กติกและวิธีการที่คนทำหนังพาเหล่าตัวละครออกไปจากมุมอับในช่วงท้ายของตอนก่อนหน้า และเป็นจุดเริ่มต้นของตอนนี้ นอกจากไม่ได้เป็นของแปลกใหม่ ยังเป็นลูกเล่นเดียวกันกับหนังเกรดบีแนว Cliffhanger ในช่วงทศวรรษ 1950 ไม่มีผิดเพี้ยน

หรือระบุให้แจ้งชัดอีกนิด จุดเริ่มต้นเนื้อหาของ Avengers: Endgame ไม่ได้มีสถานะเป็นความลับเท่ากับเซอร์ไพรส์ ซึ่งว่าไปแล้วผู้สร้างก็ทิ้งเงื่อนงำเอาไว้ใน End Credit ของตอนที่แล้วพอสมควร และน่าเชื่อว่าไม่ได้เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายสำหรับเหล่าสาวกมาร์เวลสักเท่าไร แต่ว่ากันตามจริง คนทำหนังต้องทำอะไรสักอย่างอยู่แล้วเพื่อให้เรื่องดำเนินไปต่อได้ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่ามันดูแนบเนียนและสมเหตุสมผล หรือว่าเป็นเพียงแค่การหักหลังคนดูอย่างหน้าไม่อาย ซึ่งในกรณีของ Avengers: Endgame ก็คงต้องบอกว่าคนทำหนังสามารถเอาตัวรอดไปได้อย่างลอยนวล avengers 4: endgame

อีกเรื่องหนึ่งที่มีคนพูดถึงกันมากก็คือ ความยาวของหนังที่กินเวลาฉาย 3 ชั่วโมงกับอีก 1 นาที ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ได้เนิ่นนานเป็นพิเศษสักเท่าใด แต่ที่น่าทึ่งและกล่าวได้ว่า เป็นอะไรที่เหมือนกับไม่เคยปรากฏอย่างเป็นกิจจะลักษณะมาก่อนก็คือ หนังไม่ได้หมกมุ่นอยู่กับการเดินเรื่องที่เต็มไปด้วยรายละเอียดยุ่บยั่บ ตลอดจนให้น้ำหนักกับฉากต่อสู้อย่างบ้าคลั่งและวินาศสันตะโรเพียงลำพัง ซึ่งพูดอย่างแฟร์ๆ มันก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตามประสาหนังที่เต็มไปด้วยตัวละครเป็นสิบๆ

 

 

บทสรุปของการต่อสู้

ทว่าจังหวะจะโคนในการถ่ายทอด โดยเฉพาะราวๆ ชั่วโมงแรกดำเนินไปอย่างไม่รีบเร่ง และลงทุนกับเวลาที่ผ่านพ้นไปในแง่ที่ค่อยๆ โน้มน้าวชักจูงให้ผู้ชมได้สัมผัสถึงเลือดเนื้อ ตลอดจนความมีชีวิตของตัวละคร นั่นรวมถึงภาวะ PTSD หรือหดหู่ซึมเศร้าของบางคนหลังจากผ่านโศกนาฏกรรม และมันช่วยให้หนังมีทั้งมิติ ตลอดจนความหลากหลายมากขึ้น Avengers: Endgame imdb

เมื่อเทียบกับตอนอื่นๆ ที่ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้เราได้เห็นด้านเหล่านี้ของตัวละคร อีกทั้งเมื่อถึงเวลาต้องเก็บเกี่ยวดอกผลทางอารมณ์ในช่วงราวๆ ครึ่งชั่วโมงท้าย มันก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่การบิลด์หรือการกระตุ้นเร้าอย่างซึ่งๆ หน้า และผู้ชมรู้สึกว่านี่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเรากับตัวละครที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขมาด้วยกัน และเป็นห้วงเวลาแห่งความรู้สึกอาลัยอาวรณ์

แน่นอนว่าวิธีการของธานอสเป็นเรื่องที่เห็นด้วยไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กรอบคิดแบบมนุษยนิยม ซึ่งเป็นเหมือนอุดมการณ์ทางการเมืองของหนังทั้งซีรีส์ แต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่อาจปฏิเสธมุมมองของธานอสในแง่ที่ว่า หากไม่มีใครทำอะไรสักอย่าง จำนวนประชากรที่ล้นจักรวาลก็จะนำไปสู่การแย่งชิงและสวาปามทรัพยากรซึ่งมีอยู่จำกัด และเมื่อถึงจุดจุดหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะถึงกัลปาวสานอยู่ดี

โดยที่ไม่ต้องดีดนิ้วให้เสียแรง จนกระทั่งถึงตรงนี้ ผู้ชมก็คงสังหรณ์ได้แล้วว่าประเด็นปัญหาในหนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกเสกสรรค์ปั้นแต่ง และมันอิงแอบอยู่กับโลกความเป็นจริง และในขณะที่เป็นเรื่องที่ประมวลได้ไม่ยากว่าถึงที่สุดแล้ว ชะตากรรมของธานอสจะเป็นเช่นใด ทว่าปัญหาประชากรล้นจักรวาลก็ยังคงเป็นเรื่องที่ถูกปล่อยทิ้งไว้อย่างค้างคาทั้งในโลกของซูเปอร์ฮีโร่และโลกของความเป็นจริง  หนังใหม่

ดังที่กล่าว ธานอสไม่ใช่ตัวเดินเรื่องหลักในหนังเรื่อง Avengers: Endgame และถ้าหากจะมีใครสามารถอ้างความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของหนังเรื่องนี้อย่างเต็มภาคภูมิ ก็คงหนีไม่พ้น โทนี สตาร์ก (โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์) ซึ่งว่าไปแล้วเป็นเรื่องที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เมื่อคำนึงว่าขบวนการซูเปอร์ฮีโร่ที่งอกงามและเบ่งบานจนถึงตรงนี้มีหนังเรื่อง Iron Man เป็นเสมือนจุดเริ่มต้น และ โทนี สตาร์ก ก็น่าจะเป็นตัวละครที่ผู้ชมผูกพันมากกว่าเพื่อน

 

 

ทั้งในสถานะของการเป็นตัวละครหลักของเรื่อง ตลอดจนบุคลิกที่ช่างฉูดฉาดบาดตา โดยเฉพาะในความเป็นคนยียวนกวนประสาท หลายครั้งหลายครายึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งทั้งปวง และคนดูมองเห็นทั้งความดื้อรั้นและดันทุรัง แต่ก็นั่นแหละ ไม่มีใครตั้งคำถามถึงความปรารถนาดีของตัวละคร แต่บางทีอะไรก็อาจจะไม่สำคัญเท่ากับการแสดงอย่างเข้าถึงบทบาทของ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ที่ทำให้ในท้ายที่สุดแล้วคนดูแทบจะไม่สามารถแยกแยะตัวละครออกจากนักแสดง

พิจารณาจากสถานะของการเป็นตอนสุดท้ายของแฟรนไชส์ ซึ่งถูกเรียกร้องให้ต้องทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน ตั้งแต่การหาทางออกให้กับปมปัญหาของเรื่อง การกระจายบทให้ตัวละครซึ่งมีจำนวนมากได้มีเวลาและพื้นที่ของตัวเอง ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้รำ่ลาบรรดาตัวละครที่อุตส่าห์คลุกคลีมาร่วมสิบปี แถมด้วยในระหว่างนี้ คนทำหนังก็ยังต้องคอยหยอดมุกตลกสลับกับการสอดแทรกแง่มุมดราม่าเข้ามาเพื่อให้หนังมีจังหวะจะโคนขึ้นลงที่น่าติดตาม และนั่นยังไม่ต้องเอ่ยถึงฉากแอ็กชันที่เป็นหัวใจสำคัญของหนังมาตั้งแต่ต้น โดยปริยาย Avengers: Endgame รีวิว เป็นหนังที่หลีกเลี่ยงภาวะอุ้ยอ้ายและเทอะทะได้ลำบากยากเย็น รีวิวหนังสงคราม

ส่วนที่น่าทึ่งก็คือ หนังสามารถจัดการกับเงื่อนไขและข้อเรียกร้องต่างๆ ที่พ่วงมาจากตอนก่อนหน้าได้อย่างเข้มข้น รัดกุม แนบเนียน แยบยล (หรือรายละเอียดที่รุ่มร่ามนิดๆ หน่อยๆ ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้) และก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างเป็นตัวของตัวเองและอันหนึ่งอันเดียวกัน ระยะเวลา 3 ชั่วโมงกับ 1 นาทีของหนังผ่านพ้นไปราวกับติดปีกโบยบิน เหนืออื่นใด นี่เป็นหนังซูเปอร์ฮีโร่ที่สามารถใช้คำว่าซาบซึ้งตื้นตัน และน่าเชื่อว่าคนดูจำนวนไม่น้อยน่าจะเดินออกจากโรงหนังด้วยความรู้สึกห่วงหาอาทร

Avengers: Endgame (2019)

กำกับ: แอนโทนี รุสโซ, โจ รุสโซ่

ผู้แสดง: โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์, คริส เฮมส์เวิร์ธ, มาร์ก รัฟฟาโล, สการ์เล็ตต์ โจแฮนส์สัน ฯลฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *