รีวิวหนัง อันธพาล

 

 

อันธพาล” ผลงานกำกับชิ้นโบว์แดงของผู้กำกับ ก้องเกียรติ โขมศิริ และน่าจะเป็นหนังไทยที่โด่งดังในปีนี้ และน่าจะได้เข้าชิงรางวัลด้านภาพยนตร์จากหลายสำนักเมื่อมีการประกาศกันปีหน้าครับ เพราะเป็นหนังไทยที่มีงานสร้างที่มีความละเอียด ปราณีต มีการแสดงอันยอดเยี่ยม และมีวิธีการเล่าเรื่องที่สร้างสรรค์และน่าสนใจในแบบที่ยังไม่เคยเห็นหนังไทยเรื่องไหนทำมาก่อน นอกจากนี้แล้วยังเป็นหนังไทยที่ผมกล้าพูดได้เต็มปากว่าควรให้การสนับสนุนครับ

เรื่องราวของ “อันธพาล” บอกเล่าเกี่ยวกับนักเลงดังแห่งพระนครในยุคร็อคแอนด์โรลล์ สมัยที่เจมส์ ดีน และ เอลวิส เพรสลี่ เป็นแรงบันดาลใจให้วัยรุ่นยุคนั้น มีตัวละครอันเป็นที่คุ้นเคยเพราะเคยถูกบอกเล่าเป็นหนังมาก่อนอย่างแดง ไบเล่, ปุ๊ ระเบิดขวด และดำ เอสโซ่ ใน “2499 อันธพาลครองเมือง” ของผู้กำกับนนทรีย์ นิมิบุตร

แต่อย่างที่ชื่อหนังที่ดูจะกินความกว้างกว่า ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นเหตุการณ์ในพ.ศ.ไหน “อันธพาล”ของก้องเกียรติมีขอบเขตของเรื่องราวที่กว้างกว่า มีตัวละครเด่นเยอะกว่า และขณะที่ “2499 อันธพาลครองเมือง” เน้นไปที่แดง ไบเล่ หนัง “อันธพาล” จะเน้นไปที่ตัวละครจ๊อด เฮาดี้ มือขวาและมิตรแท้ข้างกายของแดง ไบเล่ แทน  ดูหนังออนไลน์ฟรีที่นี่

 

รีวิวหนัง อันธพาล

 

รีวิวหนัง อันธพาล

ดูเหมือนว่าจุดมุ่งหมายในการสร้างหนัง “อันธพาล” ของก้องเกียรติ ก็คือต้องการสร้างหนังแนวแก๊งสเตอร์ว่าด้วยวงการมาเฟียในประเทศไทย และอยากบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนเหล่านี้ในแง่ของความเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา แต่ก็ยังขยายขอบเขตของเรื่องราวไปถึงแง่มุมทางประวัติศาสตร์  ดูหนังฟรี

วิถีและเส้นทางชีวิตของคนที่เข้ามาในวงการนี้ว่าต้องเจอกับอะไรและจะมีจุดจบอย่างไร มุมมองของผู้คนที่ร่วมสมัยกับตัวละครต่อวงการนี้เป็นอย่างไร ซึ่งก้องเกียรติมีวิธีการในการเล่าเรื่องที่น่าสนใจด้วยการเอาการเล่าเรื่องแบบหนังปกติทั่วไปมาผสมกับรูปแบบของสารคดี โดยให้จ๊อด เฮาดี้ (กฤษดา สุโกศล แคลปป์) เป็นจุดศูนย์กลางและจุดเชื่อมต่อของทั้งหมดที่กล่าวมา

ผู้กำกับก้องเกียรติให้เรารู้จักกับจ๊อด เฮาดี้ ก่อน ด้วยภาพของคนหนุ่มขี้เกรงใจ สุภาพ เป็นที่รักของทั้งแม่และน้องสาว ก่อนที่จะได้เห็นภาพที่ตรงกันข้ามในฐานะนักเลงใจเด็ดที่ฆ่าคนได้โดยไม่ยั้งมือ และโหดเหี้ยม ผู้เป็นมือขวาและมิตรคู่กายของแดง ไบเล่ (สมชาย เข็มกลัด)  อันธพาล เต็มเรื่อง

จ๊อดเป็นเด็กช่างกลมาก่อน และเข้าสู่วงการนักเลงโดยการชักชวนของแดง ซึ่งจ๊อดรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณตอนที่มาช่วยเขาระหว่างมีเรื่องวิวาทกับโรงเรียนช่างกลคู่อริ แดงพาจ๊อดไปเป็นนักเลงลูกน้องของเฮียหลอ มาเฟียกระหายอำนาจและปลิ้นปล้อน

ขณะที่แนะนำให้เรารู้จักและบอกเล่าเรื่องราวของจ๊อด ผู้กำกับก้องเกียรติก็ใช้เทคนิคของหนังสารคดีด้วยการให้ผู้คนที่รู้เรื่องราวของยุคโน้นมาช่วยเล่าในลักษณะการให้สัมภาษณ์ พร้อมทั้งแทรกภาพข่าวเก่าๆ มาประกอบ เพื่อช่วยบอกเล่าส่วนที่เป็นภาคผนวกและเกร็ดทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตัวละคร

 

รีวิวหนัง อันธพาล

 

หนังถ่ายทอดชีวิตนักเลง

และวงการนี้ เช่นฉากที่จ๊อดดวลกับเฮียเซ้ง (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง) ผู้กำกับก็ให้คนที่รู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาเล่าเสริมถึงวิธีการดวลที่เรียกว่า “มัดมือดวลมีด” ที่จ๊อดกับเฮียเซ้งใช้นั้นเป็นยังไง หรือขณะที่พูดถึงตัวละครบางตัวเช่นแดง ไบเล่ หรือ ปุ๊ ระเบิดขวด ก็ให้ผู้คนมาเล่าเสริมว่ามุมมองที่คนสมัยนั้นที่มีต่อทั้งคู่เป็นยังไง  อันธพาล pantip

เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ผู้กำกับก้องเกียรติให้สัมภาษณ์ว่าได้แรงบันดาลใจจาก District 9 ส่วนตอนที่ผมดูนั้นนึกถึงหนังฉายทีวีเรื่อง Execution of Justice ว่าด้วยการคดีฆาตกรรมฮาร์วี่ มิลค์ ที่ใช้การสัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีมาเล่าคู่ไปกับส่วนที่เป็นภาพยนตร์

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเล่าเรื่องวงในของมาเฟียผ่านมุมมองของเปี๊ยก (กฤษฎา สุภาพพร้อม) เด็กวัยรุ่นที่อาศัยและทำงานอยู่ในโรงหนังที่แดงกับจ๊อดชอบไปดูหนังบ่อยๆ เปี๊ยกมีเพื่อนรักชื่อธง (สาครินทร์ สุธรรมสมัย) และทั้งคู่ก็มีแดงกับจ๊อดเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต  ดูหนังออนไลน์

มองภาพของนักเลงรุ่นใหญ่ยุคนั้นว่าเป็นอะไรที่เท่ ใครไปไหนก็เกรงกลัวและนบนอบ จึงอยากที่จะเข้าแก๊งและเจริญรอยตาม ทำให้หนังมีส่วนคล้ายคลึงกับ The Godfather: Part II เพิ่มเข้ามา และหนึ่งชั่วโมงแรกของหนังก็ใช้วิธีการเล่าเรื่องทั้งสามขนานกันไป มีการตัดต่อสลับไปมา มีการเล่าเรื่องทั้งไปข้างหน้าและย้อนหลังแบบโดดไปโดดมาคล้าย The Social Network

 

 

ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างลูกเล่นของการเล่าเรื่องที่แปลกใหม่ และน่ายกย่องในความกล้าหาญที่จะฉีกขนบการเล่าเรื่องหนังให้แตกต่างจากหนังไทยด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดี ผู้กำกับก้องเกียรติยังใช้การเล่าเรื่องที่แปลกใหม่เหล่านี้ได้ยังไม่ลงตัวดีพอ

โดยเฉพาะช่วงหนึ่งชั่วโมงแรกของหนัง ทั้งนี้เพราะทั้งสามวิธีการเล่าเรื่องเหมือนจะมีเรื่องราวของมันเอง และหนังเล่าเรื่องโดยให้ความสัมพันธ์ของทั้งสามส่วนเกือบเท่าๆกัน มีการให้รายละเอียดที่ยิบย่อยเกินไป ทำให้มาชิงความเด่นของกันและกัน และฉุดรั้งไม่ให้อารมณ์ดราม่าของหนังในช่วงนี้ไปได้สุดทาง แม้ว่ามันจะดูเก๋ไก๋ก็ตาม  อันธพาล สปอยล์

เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลังของหนังที่หลังจากจ๊อด เฮาดี้พ้นโทษออกจากคุกหลังจากการปราบปรามอันธพาลด้วยกฎหมายอันเฉียบขาดของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนังมีวิธีการเล่าเรื่องที่ลงตัวมากขึ้น และทำให้ความเข้มข้นตามแบบหนังแก๊งสเตอร์กลับมาน่าติดตามมากขึ้น หนังลดทอนส่วนที่เป็นสารคดีให้มาเป็นเพียงส่วนเสริมจริงๆ มากขึ้น ขณะที่ส่วนที่เป็นมุมมองของเปี๊ยกก็ค่อยๆ ลดหน้าที่ลงกลายเป็นการทำหน้าที่ของโครงเรื่องรองแทน

เรื่องราวครึ่งหลังเน้นไปที่การแย่งชิงความเป็นใหญ่ของมาเฟีย โดยแต่ละเจ้าพ่อก็มีนักเลงเด่นๆเป็นลูกน้องของตัวเอง จ๊อดยังคงเป็นหมากในเกมชิงอำนาจของเฮียหลอ โดยมีเปี๊ยก, ธง, และน้าหำ (บุญส่ง นาคภู่) เป็นลูกน้อง แล้วกลายเป็นม้าศึกที่จะถูกฆ่าหลังเลิกใช้เมื่อเฮียหลอหันไปเลือกใช้โอวตี่ (ภคชนก์ โวอ่อนศรี) นักเลงนักฆ่าที่ทั้งบ้า ทั้งเหี้ยมโหด เป็นหมากตัวใหม่  ดูหนังฟรี

 

 

ทำให้แก๊งของจ๊อดต้องแตกคอกัน ขณะเดียวกัน จ๊อดก็ต้องหนีการตามล่าของผู้การคำนึง (วสุ แสงสิงแก้ว) ผู้ที่ไม่เคยคำนึงถึงวิธีในการปราบมาเฟีย และสะท้อนด้านมืดของผู้มีอำนาจทางกฎหมาย ทำพาไปสู่ฉากตามล่าล้างแค้นในตอนจบที่ทั้งตื่นเต้น ลุ้น และสะเทือนใจ  อันธพาล เรื่องย่อ

องค์ประกอบที่ควรได้รับการยกย่องอีกอย่างของหนังก็คือองค์ประกอบด้านศิลป์ ทั้งการสร้างฉาก การกำกับศิลป์ การออกแบบเครื่องแต่งกายและทรงผม งานเทคนิคภาพ และดนตรีประกอบ ที่ช่วยเนรมิตรพระนครยุค 60-70 ได้อย่างเนียบจนเหมือนพาเราหลุดเข้าสู่ยุคนั้นไปด้วยได้เลย ทั้งยังเสริมโทนดิบเถื่อนและรุนแรงอันเป็นลายเซ็นเฉพาะตัวของผู้กำกับก้องเกียรติให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

นักแสดงทุกคนทำหน้าที่ได้อยู่ในเกณฑ์พอใช้และดีมาก แต่ที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือบุญส่ง นาคภู่ เป็นบทน้าหำ นักเลงเก่าขี้คุยผู้ที่อยากหลุดพ้นจากเส้นทางนักเลงไปใช้ชีวิตเหมือนผู้คนทั่วไป เป็นบทที่ทั้งดูเป็นธรรมชาติเหมือนคนที่เราเคยเห็นว่ามีอยู่จริง และบางขณะก็ทรงพลัง ส่วนกฤษดา สุโกศล แคลมป์ ก็ยอดเยี่ยมในการสร้างบุคลิกของจ๊อดให้ดูเป็นปุถุชนทั่วไป และมีเสน่ห์ขึ้นจอ พาให้ชวนติดตามหนัง

“อันธพาล” อาจไม่ใช่หนังที่ดีพร้อมหรือสมบูรณ์แบบเต็มร้อย แต่เป็นหนังที่มีองค์ประกอบทุกส่วนของงานสร้างดีเลิศ และมีความพยายามอันน่าชื่นชมของผู้กำกับก้องเกียรติในการสร้างหนังเรื่องนี้ให้มีลูกเล่นที่แปลกแตกต่าง มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเพียงแค่นี้ก็เป็นเหตุผลพอให้นักดูหนังควรให้การสนับสนุนหนังเรื่องนี้ครับ  ดูหนังออนไลน์

 

 

บทสรุปชีวิตสายอันธพาล

ฉากหลัง เครื่องแต่งกาย ก็เป็นจุดที่น่าชื่นชม ที่ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศของเรื่อง ให้ความรู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในยุคนั้นจริงๆ แต่มีจุดให้ติตรงฉากที่ใช้เทคนิคพิเศษที่ดูลอยๆ ไม่ค่อยเนียน แต่กับฉากแอ็คชั่น อันธพาล สามารถนำเสนอออกมาได้น่าติดตาม ดิบเถื่อนเผยให้เห็นภาพความโหดร้ายของยุคสมัยแบบไม่ปิดบัง ถึงแม้จะเต็มไปด้วยความรุนแรงแต่ก็มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่พวกเขายึดถือพอที่จะ เรียกได้ว่ามันเป็นวิถีของลูกผู้ชาย ซึ่งแตกต่างจากยุคนี้โดยสิ้นเชิง! ดังที่หนังได้ให้ความหมายของคำว่า นักเลง และ กุ๊ย ว่ามันต่างกันอย่างไร

การเลือกถ่ายทอดหนังแบบลูกผสมนั้นน่าสนใจหากนำเสนอออกมาได้อย่างลงตัวแต่ นั่นไม่ใช่งานที่ง่ายเลย หนังมีหลายประเด็นให้เล่าเยอะเกิน ทั้งเรื่องผลประโยชน์ของธุรกิจ ความบาดหมางในกลุ่มนักเลง เหตุการณ์ล้างบางนักเลงครั้งใหญ่ แม้กระทั่งเรื่องของความรัก ทำให้หนังโดยรวมขาดเอกภาพในการนำเสนอ ส่งผลให้ผู้ชมขาดอารมณ์ร่วมที่มีต่อหนัง

หากความหมายของคำว่า นักเลง คือ คำว่า ครอบครัว แล้วละก็ เรื่องราวในอันธพาลก็คือเรื่องราวของครอบครัวที่แตกร้าวและล่มสลาย! ชีวิตของอันธพาลแม้จะได้รับการนับหน้าถือตาจากคนทั่วไปและชื่อเสียงอันโด่ง ดังที่ใครก็ต้องกลัว แต่นั่นก็เป็นสิ่งจอมปลอมที่อยู่ได้เพียงเวลาไม่นานอีกทั้งเป็นวงจรที่ใครเข้าไปแล้วจะถอนตัวก็เป็นไปได้ยาก เช่นเดียวกับจ๊อดที่หวังจะวางมือแต่ก็ถูกสถานการณ์ต่างๆ รุมเร้าจนมิอาจลามือ แม้สุดท้ายหนังจะไม่ได้บอกว่าปลายทางวิถีนักเลงของจ๊อดเป็นอย่างไร แต่คนดูก็คงจะทราบดีจากตัวอย่างของคนอื่นๆ  อันธพาล รีวิว

อันธพาล เป็นหนังไทยอีกเรื่องหนึ่งที่มีความไม่ลงตัวในหลายส่วน แต่ความดีของมันก็มีเยอะเกินกว่าจะมองว่ามันเป็นผลงานที่เลว อย่างน้อยหนังก็เป็นตัวสะท้อนบางอย่างให้คนในสังคมได้รู้ว่า เหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน อันธพาล ปัจจุบันนี้มันก็ยังคงมีอยู่ไม่ได้หายไปไหน

กำหนดฉาย 14 มิถุนายน 2555
ผู้สร้างและจัดจำหน่าย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล  รีวิวหนังสงคราม 
บริษัทดำเนินงานสร้าง บาแรมยู
กำกับภาพยตร์/บทภาพยนตร์ ก้องเกียรติ โขมศิริ
แสดงนำโดย กฤษดา สุโกศล แคลปป์, สมชาย เข็มกลัด, สาครินทร์ สุธรรมสมัย, กฤษฎา สุภาพพร้อม, ภคชนก์ โวอ่อนศรี, วสุ แสงสิงแก้ว, บุญส่ง นาคภู่, นันทรัตน์ ชาวราษฎร์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *